พรูเด็นเชียล ประเทศไทย เปิดตัว Pulse by Prudential

แอปพลิเคชันสุขภาพ ที่สนับสนุนให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพ

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, วันที่ 5 มิถุนายน 2563 - บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (“พรูเด็นเชียล ประเทศไทย”) เปิดตัว ‘Pulse by Prudential’ (“Pulse”) บริการแอปพลิเคชันสุขภาพบนมือถือ ที่มาพร้อมกับระบบประมวลผลอัจฉริยะ (Artificial Intelligence (AI)) เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงการบริการ และข้อมูลด้านสุขภาพในรูปแบบเรียลไทม์ แอปพลิเคชัน Pulse ช่วยให้ผู้ใช้มีความเข้าใจสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการประเมินสุขภาพผ่านระบบดิจิทัลเพื่อช่วยวิเคราะห์ความเสี่ยงของการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต มีความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ และสุขภาพจิตที่เป็นอยู่รวมถึงสามารถเข้าถึงคำแนะนำด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่ต้องการ

นายโรบิน สเปนเซอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พรูเด็นเชียล ประเทศไทย กล่าวว่า “ทุกวันนี้เรามีชีวิตอยู่ในยุคที่เราต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงโรคภัยที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรคอุบัติใหม่อีกด้วย การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นำมาซึ่งความตระหนักของผู้คนถึงความจำเป็นในการดูแลใส่ใจสุขภาพและการดำเนินชีวิตของตนเอง Pulse คือ แอปพลิเคชันเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้เราสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย เข้ากับความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำต่าง ๆ ทำให้ Pulse มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้คนไทยมีความเข้าใจและสามารถติดตามดูแลสุขภาพของตนเอง

“Pulse เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในระดับภูมิภาคของพรูเด็นเชียล ในการผลักดันให้เรื่องการใส่ใจดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่ทุก ๆ คนสามารถเข้าถึงได้ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการมีส่วนสนับสนุนให้ผู้ใช้สามารถติดตามดูแลสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ครอบคลุมทุกด้านในทุกจังหวะของชีวิต เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องดูแล และมอบความอุ่นใจ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงช่วยป้องกัน และชะลอปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย” นายสเปนเซอร์ กล่าวเสริม

ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Pulse เพื่อใช้งานได้ฟรีที่ Apple และ Google Play Stores โดยผู้ใช้ Pulse สามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพในรูปแบบเรียลไทม์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านระบบบนมือถือที่ครอบคลุมข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพ อย่างครบครัน โดยมีฟีเจอร์หลัก ๆ ในเบื้องต้น ที่ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ภายหลังการติดตั้งแอปพลิเคชัน ดังนี้
* Healthcheck* (สนับสนุนระบบโดย Babylon บริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านสุขภาพจากอังกฤษ) ผู้ใช้เพียงตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิต ภาวะโภชนาการ สุขภาพจิต ประวัติสุขภาพ และประวัติครอบครัว เพื่อประมวลผลรายงานสุขภาพของตนเอง พร้อมรับข้อมูลเชิงลึกในด้านความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในระยะยาว การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและส่งเสริมการมีสุขภาพดี โดยระบบจะสร้าง “Digital Twin” ผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำ ในรูปแบบกราฟิกสามมิติจำลองร่างกายเสมือนจริงโดยจำแนกตามระบบอวัยวะต่าง ๆ เพื่อสำรวจร่างกายได้จากภายในสู่ภายนอก ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นตัวเองในแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

* Symptom Checker* (สนับสนุนระบบโดย Babylon บริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้านสุขภาพจากอังกฤษ) ผู้ใช้สามารถกรอกข้อมูลอาการทางร่างกายผ่านแชทบอทที่ควบคุมด้วยระบบ AI เพื่อรับทราบข้อมูลการตรวจสอบทางการแพทย์ที่รวดเร็วและมีความเฉพาะตัว รวมทั้งคำแนะนำในขั้นต่อไปที่ผู้ใช้ควรปฏิบัติอย่างง่ายดายผ่านมือถือ ด้วยการทำงานเสมือน “ประตูด่านแรก” ผ่านระบบดิจิทัลสำหรับผู้ป่วยยามที่ต้องการการดูแลรักษา Symptom Checker ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้และเข้าใจถึงอาการต่าง ๆ ทางร่างกายที่อยู่ในความกังวล และยังให้คำแนะนำว่า ผู้ใช้ควรไปรับคำปรึกษา หรือการรักษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่เหมาะสมอีกด้วย ที่สำคัญ เครื่องมือนี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถแจ้งเตือนสำหรับอาการ หรือสภาวะทางร่างกายบางอย่างที่มีส่วนสัมพันธ์กับอาการของโรคโควิด-19 เช่นเดียวกับข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุได้ว่า ตนเองจำเป็นต้องได้รับการรักษาหรือไม่ตามคำแนะนำด้านสุขอนามัยเฉพาะท้องถิ่นนั้น ๆ

* Hospital Finder - แผนที่อินเตอร์แอคทีฟที่ช่วยผู้ใช้ค้นหาคลินิกและโรงพยาบาลในเครือข่ายพรูเด็นเชียลที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ ผู้ใช้จะสามารถเห็นรายละเอียดของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ (เช่น ที่อยู่ และรายละเอียดสำหรับติดต่อ) รวมถึงสามารถโทรศัพท์ และ/หรือใช้แผนที่เพื่อนำทางไปยังโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ผู้ใช้เลือกอีกด้วย

* ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index (BMI)) และดัชนีริ้วรอย (Wrinkle Index) - ดัชนีมวลกาย และดัชนีริ้วรอยเป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่พัฒนาขึ้นผ่านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งผู้ใช้งานจะทราบเกี่ยวกับสัดส่วนไขมันในร่างกาย ความเร็วของอายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงมาตรวัดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิต และสุขภาพ เพียงแค่ถ่ายภาพเซลฟี และอัปโหลดภาพดังกล่าวเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล ระบบดังกล่าวนี้จะมีการพัฒนาให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป อาทิ การวัดค่าระดับริ้วรอย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่สำคัญ ซึ่งรวมถึง การเกิดมะเร็วผิวหนัง ด้วยระบบอัจฉริยะเหล่านี้ Pulse มุ่งที่จะก้าวไปสู่การให้คำแนะนำเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตอันใกล้ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมีอายุที่ยืนยาวและมีสุขภาพดียิ่งขึ้น

* ข้อมูลส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ แหล่งรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการคัดสรร ไม่ว่าจะในรูปแบบของบทความ วิดีโอ หรืออินโฟกราฟิก ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ อาทิ สุขภาพจิต การดูแลสุขภาพ อาหารการกิน การออกกำลังกาย รวมถึงการวิจัยใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 (เช่น การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19) คำแนะนำในการป้องกันโรคต่าง ๆ เรื่อยไปจนถึง โรคภัยไข้เจ็บที่พบบ่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงไข้เลือดออกและโรคมะเร็ง

Pulse เป็นแพลตฟอร์มที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพรูเด็นเชียลจะเพิ่มพันธมิตร เครื่องมือใช้งาน และบริการเสริมใหม่ ๆ (เช่น ระบบติดตามกิจกรรมเพื่อสุขภาพส่วนบุคคล การขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่านระบบออนไลน์) ในเฟสต่อ ๆ ไป แอปพลิเคชันนี้เปิดตัวใช้งานเป็นครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซียในเดือนสิงหาคม 2562 และจะทยอยเปิดตัวให้ครบ 11 ประเทศในเอเชีย ปัจจุบัน สามารถใช้แอปพลิเคชันนี้ได้ใน 9 ประเทศ 7 ภาษา รวมทั้งประเทศไทย โดยมีผู้ดาวน์โหลดแอปฯ มาใช้งานแล้วทั่วภูมิภาคเอเชียมากกว่า 4.8 ล้านครั้ง
แอปพลิเคชัน Pulse ที่ให้บริการในประเทศไทยนั้นผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.wedopulse.com/th/.
สามารถรับชมวิดีโอได้ที่ [https://bit.ly/2XvVYof]
ดาวน์โหลดฟรีบน iOS และ Android

*Symptom Checker และ Healthcheck ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบหรือการวินิจฉัยโรคแต่อย่างใด นอกจากนี้ Symptom Checker และ Healthcheck ยังไม่เหมาะสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และผู้ใข้ที่มีภาวะการเจ็บป่วย หรือภาวะทุพพลภาพมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจมีความต้องการและความสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป และไม่ควรใช้ Symptom Checker ในสถานการณ์ฉุกเฉินทางการแพทย์โดยเด็ดขาด โดยแนะนำให้ผู้ใช้ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินในท้องถิ่นของตนแทน 


ชื่อผู้ตอบ:

รายการล่าสุดที่คุณดู
Visitors: 1,330,828