เทคโนโลยีและสุขภาพมีผลกระทบกับความสัมพันธ์อย่างไร
ดัชนีความสัมพันธ์พรูเด็นเชียลมีคำตอบในเรื่องนี้
• ประเทศไทยจัดอยู่อันดับที่ 5 จาก 9 ประเทศในเอเชียถึงความพึงพอใจด้านความสัมพันธ์ในการใช้ชีวิต
• ถึงแม้ว่าสุขภาพจะเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่กระตือรือร้นที่จะหันมาดูแลสุขภาพตัวเองอย่างจริงจัง
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย: จากผลสำรวจดัชนีความสัมพันธ์พรูเด็นเชียลประจำปี 2017 [Prudential Relationship Index (PRI) 2017] แสดงให้เห็นว่าในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนอย่างรวดเร็ว ทำให้ความสัมพันธ์ของคนไทยนั้นสั่นคลอนมากขึ้น เทคโนโลยีซึ่งรวมไปถึงโซเชียลมีเดีย เป็นสาเหตุอันดับสองในการทะเลาะกันของคู่รักในประเทศไทย
ความสัมพันธ์ทำให้ชีวิตเรามีชีวิตชีวา มีร้องไห้บ้าง หัวเราะบ้าง แต่ก็คือชีวิต คำถามคือ เราเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์อย่างถ่องแท้มากน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้เอง พรูเด็นเชียลจึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่องความสัมพันธ์ขึ้นเป็นปีที่สองหลังจากเปิดเผยผลสำรวจฉบับแรกไปเมื่อปีที่ผ่านมา
ในปีนี้ ประเทศไทยยังคงอยู่ในอันดับที่ 5 จาก 9 ประเทศที่ทำการสำรวจในเอเชีย และได้คะแนนความสัมพันธ์ดัชนี PRI (Prudential Relationship Index) ในปี 2017 อยู่ที่ 70 จาก 100 คะแนน ลดลง 1 คะแนนจากปี 2016 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโดยเฉลี่ยความสัมพันธ์หลักของผู้คนจะช่วยให้บรรลุ 70% ของความต้องการที่ปรารถนา ส่งผลให้เกิด "ช่องว่างในความสัมพันธ์" อยู่ที่ 30% ในประเทศไทย โดยคะแนนดัชนี PRI ที่สูงที่สุดตกเป็นของประเทศกัมพูชาและฟิลิปปินส์
นายอามัน โชวลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้ประกาศผลสำรวจดัชนีความสัมพันธ์ฉบับที่สองของประเทศไทยในปีนี้ ซึ่งดัชนี PRI ได้แสดงให้เห็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจในสถานะความสัมพันธ์ของคนไทย โดยผลสำรวจที่น่าสนใจในปีนี้คือเรื่องของการดูแลสุขภาพและความมั่นคงทางการเงินของคนที่เรารักเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆของคนไทยทุกคน”
“เกี่ยวกับความสำคัญของความสัมพันธ์ ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นนั้นเกิดจากความรู้สึกของการเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและการใส่ใจในเรื่องของสุขภาพและการมีอายุยืน เรามองพรูเด็นเชียลคือเพื่อนคู่คิดในการปรึกษาเรื่องการใช้ชีวิต และมุ่งมั่นในการมอบนวัตกรรมและประสบการณ์ใหม่ๆให้แก่ลูกค้า” นายอามัน โชวลา กล่าวเสริม
เทคโนโลยี ทำให้ความสัมพันธ์ของคนเราดีขึ้นหรืออ่อนแอลง
ในขณะที่โซเชียลมีเดียมีส่วนให้ชีวิตของคนเราใกล้กันมากขึ้น แต่คู่รักส่วนใหญ่ในประเทศไทยเห็นว่า โซเชียลมีเดียทำให้เกิดช่องว่างในความสัมพันธ์ของพวกเขา 36 เปอร์เซ็นต์ของคู่รักที่ตอบแบบสอบถามโต้เถียงกันเรื่องเวลาที่ใช้ไปกับโทรศัพท์หรืออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมี 37% ระบุว่าพวกเขามักจะรู้สึกไม่สบอารมณ์กับการโพสต์ข้อความของคนรักในโซเชียลมีเดีย
46 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยเห็นว่าคนในครอบครัวใช้เวลามากเกินไปกับโทรศัพท์แทนที่จะพูดคุยกัน ในขณะที่ 40 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าเวลาที่ใช้ไปกับอุปกรณ์ดังกล่าวมีผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวของพวกเขา
โดยความต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิง เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนั้นค่อนข้างชัดเจน คือ 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายไทยกล่าวว่าพวกเขาเป็นคนที่ให้ความสนใจกับโทรศัพท์มากกว่าอีกฝ่าย เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่อยู่ที่ 51 เปอร์เซ็นต์
ใช่! คนไทยให้ความสำคัญกับสุขภาพของพวกเขา แต่แล้วไงต่อ
จากผลสำรวจดัชนีความสัมพันธ์พรูเด็นเชียลประจำปี 2017 คนไทยรู้ตัวดีว่าต้องให้ความสำคัญในด้านสุขภาพ แต่น้อยคนที่จะลงมือทำ
69 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยกังวลว่าพวกเขาจะยังมีร่างกายแข็งแรงเมื่ออายุมากขึ้นหรือไม่ ในขณะเดียวกัน 34 เปอร์เซ็นต์ ของคนไทยเชื่อว่าสุขภาพของพวกเขาจะแย่ลงในอีกห้าปีข้างหน้า
แม้จะมีความกังวลแต่ 61% ระบุว่าตนไม่กระตือรือร้นในการรักษาสุขภาพ เมื่อถามพวกเขาว่าถ้าคู่รักในเมืองไทยสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเกี่ยวกับคู่ของพวกเขาได้จะเป็นเรื่องอะไร มากกว่า 54 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าต้องการให้คู่ชีวิตของตนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
“ผลสำรวจดัชนีความสัมพันธ์พรูเด็นเชียลประจำปี 2017 แสดงให้เราเห็นถึงข้อมูลเชิงลึกและเข้าใจถึงความต้องการและข้อกังวลของกลุ่มลูกค้าในตลาด ถึงแม้ว่าสุขภาพจะเป็นปัจจัยหลัก แต่มากถึงสามในสี่ของคนไทย (66 เปอร์เซ็นต์) ก็ยังคงกังวลถึงเงินเก็บว่าจะพอใช้ในวัยเกษียณไหม โดย 55 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการเก็บเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ผลสำรวจที่ได้นี้ช่วยเสริมสร้างความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายตามความต้องการของลูกค้าเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการออม สุขภาพ เรื่อยไปจนถึงความคุ้มครองชีวิต” นายอามัน โชวลา กล่าวปิดท้าย