เอฟดับบลิวดีกรุ๊ป ริเริ่มโครงการ Community Care Partnership

เซ็นสัญญา 3 ปีกับสเปเชียลโอลิมปิค เอเชีย แปซิฟิค
พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสติปัญญา

กรุงเทพฯ–เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิตเปิดตัวโครงการ Community Care Partnership ร่วมกับสมาคมสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทยเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้แก่ผู้พิการในประเทศ ไทยโดยเอฟดับบลิวดี กรุ๊ป และสเปเชียลโอลิมปิคเอเชียแปซิฟิคได้ลงนามเป็นพันธมิตรช่วยเหลือเด็กพิการทางสติปัญญาใน 7 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ ไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนามเอฟดับบลิวดีสนับสนุนเงินทุนสำหรับโครงการ Unified Schools และโครงการผู้นำนักกีฬา (Athlete Leadership Program) เพื่อมุ่งหวังส่งเสริมให้ผู้พิการทางสติปัญญาสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและมีโอกาสเท่าเทียมกับผู้อื่น

นางสาวปรมาศิริ มโนลม้าย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า Community Care เป็นหนึ่งในโครงการของเอฟดับบลิวดีที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับชุมชนที่อยู่รอบ ๆ โดยตั้งแต่ปี 2556 เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต ได้จ้างงานผู้พิการมากกว่า 20 คนมาเป็นพนักงานในส่วนงานต่างๆ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงจนส่งผลให้บริษัทได้รับรางวัล The Asian Welcome-Disability Award (Well-D) จาก Workability Thailand & Thai Government ประจำปี 2559 แต่เราก็ได้รับรู้ว่าผู้พิการยังขาดโอกาสทางสังคมอีกมาก จนไม่สามารถพัฒนาทักษะความสามารถได้เต็มศักยภาพและไม่สามารถออกไปสนุกกับการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

สำหรับประเทศไทยเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จะทำงานร่วมกับสมาคมสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย โดยนำพนักงานของบริษัทเข้าร่วมกิจกรรมสนับสนุนการแข่งขันกีฬาของเด็กผู้พิการทางสติปัญญาโดยการเป็นผู้ช่วยในกิจกรรม เช่น การรับลงทะเบียนนักกีฬา การเป็นกรรมการ เป็นต้น รวมทั้งการให้น้องๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆที่บริษัทจัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกบริษัท การร่วมมือกันระหว่างเอฟดับบลิวดีกับสเปเชียลโอลิมปิคในการดำเนินโครงการครั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถช่วยเหลือผู้พิการทางสติปัญญาที่ปัจจุบันมีมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกหรือเกือบ2 ล้านคนในประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มผู้พิการที่มีจำนวนมากที่สุดของผู้พิการทุกประเภทในไทย โครงการ Community Care เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นของเอฟดับบลิวดีที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่มีเป้าหมายลดความไม่เสมอภาคในสังคม

“เราหวังให้ผู้คนตระหนักและมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความต้องการของผู้พิการและร่วมกันสร้างอนาคตที่แตกต่างให้แก่ผู้พิการทางสติปัญญาในชุมชน” นางสาวปรมาศิริ กล่าวในตอนท้าย

นางรัชนีวรรณ บูลกุล ผู้อำนวยการสมาคมสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้พิการทางสติปัญญาเป็นกลุ่มผู้พิการที่มีจำนวนมากที่สุดของผู้พิการทุกประเภท ในประเทศไทยมีผู้พิการกลุ่มนี้เกือบ 2 ล้านคน โดยเป็นเยาวชนราว 6 แสนคน ซึ่งผู้พิการเหล่านี้จะมีปัญหาด้านการสื่อสาร การเข้าถึงบริการต่างๆ และเป็นประชากรไทยที่ด้อยโอกาสมากที่สุดในประเทศไทย จากการวิจัยพบว่า หากได้รับการบำบัดดูแลและมีการเรียนรู้แต่เนิ่นๆ ผู้พิการเหล่านี้จะสามารถพัฒนาตนเอง ไม่เป็นภาระกับครอบครัว และสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า สเปเชียลโอลิมปิคจึงรู้สึกยินดีมากที่เอฟดับบลิวดีให้การสนับสนุนโครงการของเรา โดยเราจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะ ความสามารถ และคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสติปัญญาโดยใช้กีฬาเป็นสื่อ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สุขภาพอนามัย สร้างโอกาส สร้างการยอมรับในสังคมไทยให้แก่ผู้พิการทางสติปัญญาให้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม

โครงการ Unified School ตั้งเป้าหมายจะมีคนหนุ่มสาว 12,000 คนเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นฟูและแก้ไขปัญหามุมมองเชิงลบของผู้พิการทางสติปัญญา และเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและที่ไม่ใช่กีฬา จำนวน 240 กิจกรรมที่จะจัดขึ้นในโรงเรียนและชุมชน 90 แห่งเพื่อสร้างการยอมรับและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม

สำหรับโครงการผู้นำนักกีฬา (Athlete Leadership Program) จะเปิดโอกาสให้นักกีฬาที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา 300 คน ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆนอกเหนือจากการเล่นกีฬา เช่น การสื่อสาร การพูดในที่สาธารณะ การใช้โซเชียลมีเดีย การทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยโค้ชและคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถทำงานและมีส่วนร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สเปเชียลโอลิมปิคยังฝึกอบรมครู ให้กับนักกีฬาผู้นำเพิ่มอีก 200 คน และจะร่วมมือกับบริษัทจัดหางานเพื่อส่งเสริมให้นักกีฬาที่พิการทางสติปัญญามีงานทำ สามารถหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว และเรียนรู้ทักษะความเป็นผู้นำ

Visitors: 1,330,830