กรุงเทพประกันชีวิต ผนึกกำลัง กบข.

ร่วมลงนามแนวปฏิบัติ “การระงับลงทุน” ในบริษัทจดทะเบียนที่มีปัญหา ESG

บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ผนึกความร่วมมือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) พร้อมด้วยนักลงทุนสถาบัน รวม 32 ราย ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารรวมกันกว่า 10.8 ล้านล้านบาท จากสำนักงานประกันสังคม บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน และบริษัทประกันชีวิต ร่วมประกาศเจตนารมณ์ลงนามแนวปฏิบัติ “การระงับลงทุน” ในบริษัทจดทะเบียนที่มีประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวเปิดงาน พร้อมอธิบายถึงความสำคัญของการรวมพลังความร่วมมือลงนามฯ ในครั้งนี้

ม.ล. จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การรวมตัวครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมของกลุ่มนักลงทุนสถาบันชั้นนำของประเทศ ในการขับเคลื่อนการลงทุนตามหลัก ESG โดยกรุงเทพประกันชีวิต ในฐานะบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของประเทศไทย เห็นถึงความสำคัญของการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ เพราะการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนสถาบัน ควรต้องพิจารณาปัจจัยทั้ง 3 ด้านตามหลัก ESG ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่ กบข. พยายามผลักดันอย่างต่อเนื่อง การที่กรุงเทพประกันชีวิต พร้อมนักลงทุนสถาบัน รวม 32 ราย ร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม จะช่วยสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่สม่ำเสมอ ลดความเสี่ยงให้กับสมาชิกในระยะยาว และก่อให้เกิดพัฒนาการที่ยั่งยืนของตลาดทุน รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีแก่การลงทุนในประเทศ ทั้งยังช่วยขับเคลื่อนตลาดทุนไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน”

การประกาศเจตนารมณ์ร่วมลงนามนี้ มีสาระสำคัญ คือ กรณีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กระทำผิด พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในประเด็นร้ายแรง หรือดำเนินการขัดแย้งต่อหลักการ ESG ก่อให้เกิดผลกระทบทางลบอย่างมีนัยยะสำคัญ กลุ่มนักลงทุนสถาบันที่ร่วมกันลงนามฯ จะเข้าประสานงานกับบริษัทเพื่อหาทางแก้ปัญหา หรือ หาทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาดังกล่าว นักลงทุนแต่ละรายได้ตกลงร่วมกันที่จะไม่เข้าลงทุนเพิ่มเติมในบริษัทที่มีปัญหานั้นเป็นระยะเวลา 3เดือน หรือจนกว่าจะแก้ไขปัญหาสำเร็จ เพื่อป้องกันผลกระทบทางลบที่อาจเกิดกับผู้ถือหุ้นและสังคมในภาพรวม ทั้งยังเป็นการผลักดันให้บริษัทกลับมาดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามหลักการ ESG และมีความยั่งยืนต่อไป


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 1,330,834